top of page

ปัจฉิมนิทัศน์ในยุคโควิด-19

          

หากเลือกได้เรายังคงต้องการการแสดงแบบที่คนดูที่มีชีวิต มีเลือดเนื้อ มีอุณหภูมิร่างกายที่อบอุ่นอยู่ล้อมรอบ

การแสดงผ่านไลฟ์สตรีม ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่สามารถมาทดแทนความรู้สึกนี้

ในฐานะนักดนตรีที่ต้องการรับรู้ถึงพลังงานชีวิต ความตื่นเต้นจากการถูกจ้องมอง และสปอตไลท์

 

ทว่าเราไม่อาจเลือกอะไรได้

มีเพียงเก้าอี้ที่คอยรอการแสดงของเรา เสียงปรบมือคงจะเป็นอากาศที่ว่างเปล่า

ผู้ชมอีกจำนวนหนึ่งคือกลุ่มก้อนโลหะ สายไฟ ชิ้นส่วนแผงวงจร

เป็นคอนเสิร์ตสำหรับหุ่นยนต์โดยสมบูรณ์

การแสดงของเราในท้ายที่สุดแล้วเป็นไปเพียงเพื่อให้จบการศึกษาเท่านั้น

ต่อให้มีโอกาสกลับไปแก้ไข ถ้ายังเป็นการแสดงในลักษณะดังกล่าวคงจะไม่ทำอีก

ให้ฝืนทำต่อ จิตวิญญาณของผู้แสดงอาจจะถูกดูดกลืนแล้วกลายเป็นหุ่นยนต์ไปจริง ๆ

หรือหากจำเป็นจริง ๆ ก็อาจขอเวลาปรับชุดความคิดและสภาพจิตใจ ไม่ก็เลี่ยงไปทำหน้าที่อื่น คิดว่าตัวเองเป็นสิ่งอื่น

 

มันเป็นเรื่องน่าขบขันที่ตัวเราในเวลาสี่ห้าปีที่เล่าเรียนมาในสายงานสำหรับเป็นผู้แสดง วันหนึ่งต้องมานั่งออกแบบ ตัดต่อวิดิโอ

เลือกมุมกล้อง เลือกเวลาพรีเมียร์ แม้กระทั่งการทดลองเขียนเล่มในลักษณะคล้ายปริญญาโท 

เรานั่งทำในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรต้องมาทำ

สมองยังคงต้องครีเอทีฟ ต้องไม่หยุดหาแรงจูงใจ

ทั้งที่มองออกไปนอกหน้าต่างห้องทำงานเราเห็นผู้คนเดือดร้อน ป่วยและล้มตายลงไปแบบรายวัน

 

นับเป็นบททดสอบการปรับตัวและบทลงโทษครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับผู้ที่ยังคิดจะเดินอยู่ในสายงานศิลปะในสถานการณ์เช่นนี้ จะมองเป็นการฝึกฝนตัวเองนั้นก็สามารถมองได้ แต่หากคิดบวกแบบไม่ลืมหูลืมตาวันหนึ่งเราอาจอกแตกตาย

พยายามมองเป็นลบให้น้อยที่สุดคงทำได้เพียงแค่ทุกอย่างเป็นไปเพื่อการศึกษา 

 

 

 

 

 

 

 

 

           สิ่งที่ได้เรียนรู้ในโครงการปัจฉิมนิทัศน์ยุคโควิค-19 ที่จะมีประโยชน์ต่อไปในอนาคตข้างหน้า ได้แก่ สกิลในการใช้โปรแกรมตัดต่อวิดิโอ คลังศัพท์ทางเทคนิคเกี่ยวกับการอัดบันทึกภาพเคลื่อนไหว เสียง อุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกเพิ่มพูนเข้าไปในส่วนซีรีบรัมของสมองเป็นอันเสร็จสิ้น วันหนึ่งเราอาจจะได้ใช้ประโยชน์จากความสามารถเหล่านี้

 

ความสามารถที่เพิ่มมาแน่นอนคือการตัดหามุมสวยในวิดิโอ หากไปค้นในงานวิดิโอรีไซทอลของคนอื่น ภาพของเราที่ออกมาอาจจะไม่สวยเท่าในวิดิโอของตัวเอง แม้จะดูเผิน ๆ เหมือนเป็นความสามารถใหม่ที่ไร้ประโยชน์ แต่ในยุคแห่งอภิสิทธิ์ทางความงามและสื่อออนไลน์เป็นใหญ่สิ่งนี้อาจนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพในอนาคต เช่น ปัจจุบันเราทำงานวีเจและได้บัญชีไลฟ์สตรีมเมอร์ที่ตรวจสอบแล้วอยู่ในแพลตฟอร์มเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง การหามุมที่ตนเองดูดีจะช่วยเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ให้คนเข้ามาดูผลงานของเรา แม้ว่าตัวจริงจะไม่ได้เหมือนในจอเลยก็ตาม     ต่อมาคือเรารู้จักช่องทางออนไลน์มากขึ้น รู้จักแอพพลิเคชั่นที่ส่งเสริมวิชาชีพดนตรี

 

 

ข้อดีข้อหนึ่งของการแสดงที่มีวิดิโอบันทึกไว้คือเราสามารถกลับเข้าไปดูอีกกี่หนก็ได้จนกว่ามันจะพังหรือถูกลบไป

(และข้อเสียของมันก็เช่นเดียวกัน ความสดใหม่ของงานเราถูกลดทอนลงไป เป็นเหตุผลที่คนบางกลุ่มซื้อบัตรเข้าชมไลฟ์คอนเสิร์ต

มิเช่นนั้นการที่เรานอนอยู่บ้าน สมัครแอพฟังเพลงพรีเมียมแล้วฟังเสียงบันทึกจากนักดนตรีระดับโลกก็คงจะเพียงพอ) 

 

           

 

 

 

 

เรื่องของคอนเซปต์ทุกขภาวะแทบไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาอธิบายเพราะในเวลานี้เราทุกคนคงรู้ซึ้งถึงมันอยู่แล้วเป็นปกติ เพียงแค่รายละเอียดและการตีความที่ออกมาแตกต่างกัน เราและเพื่อนทั้งรุ่นเดียวกันและรุ่นน้องต่างได้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น เรามองเห็นความสำคัญของห้องซ้อม โอกาสในการเรียนเมเจอร์สกิลและวิชารวมวงแบบตัวต่อตัวกับอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ หรือการได้นั่งเรียนในชั้นเรียนที่เรา อาจารย์และเพื่อน ๆ อยู่ในห้องเดียวกัน สิ่งปกติเหล่านี้ที่เราเคยได้รับมันมาตลอดบัดนี้กลายเป็นเพียงอดีตให้นึกถึง หากเราสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติดังเดิมเราจะรู้ว่าต้องช่วยกันดูแลรักษาและแบ่งปันพวกมันกับเพื่อนนักดนตรี 

Screenshot_20210610_025137_com.google.an
IMG_20210610_2_edit_126999969216557.jpg

ร์ห่คุ

(และเรื่องราวต่าง ๆ)

ต้องขอขอบคุณแรงซัพพอร์ตจากทางครอบครัว

นอกจากแม่ก็มีพ่อที่คอยให้การสนับสนุนในเรื่องของปัจจัยชีวิต ที่พักอาศัย อาหาร การศึกษา และความสะดวกสบายทุกอย่างที่ได้รับ

ยกความดีความชอบให้สองบุคคลข้างต้น (ไม่เขียนพิธีการแบบกิตติกรรมประกาศในเล่มเพราะรู้สึกเขินอายกับภาษาที่ใช้)

ขอขอบพระคุณ.......

อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในสถาบัน

อาจารย์กวาง (Dr.Suppabhorn Suwanpakdee) ที่ปรึกษาโครงการที่ใจดีและน่ารักมากที่สุด อาจารย์พักอยู่ย่านเดียวกัน ทำให้มีโอกาสไปพบเจอโดยไม่ต้องนัดหมายอยู่หลายหน ในช่วงที่ทำโปรเจคอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ มีช่วงที่งานไม่เดิน แล้วแอบย่องหนีเมื่อพบว่าร้านอาหารที่กำลังจะเข้าไปนั้นมีอาจารย์นั่งอยู่ อย่างไรก็ตาม ช่วงใกล้เดดไลน์ที่เราผละออกมาจากการตัดต่อวิดิโอแล้วหนีไปทานข้าวในห้างเซ็นทรัลที่ห่างออกไปสี่กิโลเมตร เราก็ไปเข้าร้านเดียวกันกับอาจารย์ (ทั้งที่ร้านอาหารมีเป็นร้อย) สุดท้ายเราก็ต้องรายงานตามสภาพความเป็นจริงถึงงานที่กำลังทำ เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นประมาณสามสี่ครั้ง หรือจะเป็นพรหมลิขิตก็ไม่อาจรู้ได้

 

 ครูหม่อน (Zion Daorattanahong) อาจารย์เมเจอร์สตูดาวลูกไก่ ผ่านทุกข์ผ่านสุข ผ่านอะไรแปลก ๆ มาด้วยกันในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา

ไปงานต่าง ๆ ทั้งงานที่โดนแกง งานหาทำ งานโบสถ์ งานวัด และงานกิน เป็นช่วงเวลาที่สนุก ความผูกพันธ์ที่มีมากกว่าการเป็นครูกับนักเรียน ในอีกมิติเราเหมือน เราร้องเพลงด้วยเสียงที่ออกมาคลาสสิคได้และเข้าใจเรื่องของการร้องเพลงคลาสสิคก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ เรื่องราวการเดินทางของสตูเราค่อนข้างยาว หากมีโอกาสจะกลับมาเล่าใหม่

อาจารย์ต้อม (Dr.Anothai Nitibhon) อาจารย์ประจำวิชารีไซทอลโปรเจคที่เราหลายคนอาจมองว่ามีการ "หาทำ" อยู่ในวิชานี้แทบจะตลอดเวลา

แต่นอกเหนือไปจากความเอ็กเซสซีฟของ assignment วิชานี้ เราได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการทำงานร่วมกับอาจารย์

ตั้งแต่รู้จักอาจารย์หกปีก่อน สิ่งเดียวที่ยังเหมือนเดิมคือเรายังมองอาจารย์ท่านนี้เป็นไอดอล

อาจารย์อาร์ต (Dr.Jiradej Setabundhu) ที่สอนให้รู้จักกับทฤษฎีดนตรี และเปิดโลกทัศน์มุมมองหลาย ๆ อย่าง การได้ฟังเพลงสากลยุคห้าสิบกว่าปีก่อนและวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับดนตรีในนั้นเป็นเรื่องสนุก ทักษะที่สำคัญสำหรับนักดนตรีก็ได้อาจารย์ท่านนี้สอน

รวมถึงหลายครั้งก็ได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ในเรื่องของผลการเรียนที่หายไป

อาจารย์โหน่ง (Dr.Komsun Dilokkunanant) ได้เรียนหลายวิชากับอาจารย์ท่านนี้ วิชาบรรยาย รวมไปถึงวิชาปฏิบัติอย่างเช่นวิชารวมวง

และได้รับความช่วยเหลือในตอนที่มีปัญหาเรื่องของการลงทะเบียน การพักการเรียน

อาจารย์โค้ก (Dr.Apichai Chantanakajornfung) เรียนครั้งแรกกับอาจารย์คือวิชารวมวงหลังจากดรอปเรียน และในสองสามปีที่ผ่านมาก็ได้รบกวนอาจารย์ในเรื่องของโครงการแลกเปลี่ยนดนตรีที่ประเทศเยอรมนี ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำมากมาย ถึงแม้จะติดปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถได้ไปตามกำหนดการ แต่คาดว่าในเร็ว ๆ นี้สิ่งที่สู้มาจะไม่สูญ

อาจารย์เจดี (Dr.Jean-David Stephan Caillouët)  โปรเจคซุปเปอร์ไวเซอร์ของรีไซปีก่ที่เต็มไปด้วยความหาทำ ความซู่ซ่า อะไรก็แล้วแต่ เราได้เรียนดนตรีแปลก ๆ รวมไปถึงได้รู้จักพื้นที่ทำงานศิลปะนอกกระแสมากมาย หลายครั้งอาจจะเข้าใจยากจนคนนอกวงการมองเข้ามาแล้วรู้สึกหวาดกลัว

แต่โดยรวมเป็นการทำงานที่สนุก

รวมไปถึงอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ยังไม่ได้เอ่ยถึงที่ให้ความช่วยเหลือ ชี้แนะ เอื้อเฟื้อแก่กันเสมอมา

ขอขอบคุณ.......

แก๊งทีมงานวันแสดง

 น้องภูมิหมีขาวนักเปียโนของเรา (Phoom Santipolnwit)

ฟ้ามือไวโอลินคนเท่ (Fuangfaa Rakrong)

พี่มรกตที่มาช่วยชีวิตเอาในช่วงสัปดาห์สุดท้าย (Morakot Cherdchoo-ngarm)

มิวสิคมือวิโอล่า (Kawalee Phakarat)

Technician: 

มิ้นท์น้องรัก เพื่อนร่วมสตู (Suchunya Tanvichien)

ธีร์ เพื่อนร่วมรุ่นที่เราไม่ได้จบพร้อมนาง (Theerasit Sae-lim)

หมีพูห์ดีว่าประจำสถาบัน (Panupob Jakklom)

แนนคนสวยและเก๋ที่สุด (Petpairin Luenpaen)

Camera:

หนูเอิร์ธตัวเล็กแต่มีแรงถือกล้องฟูลเฟรมพร้อมเลนส์หนัก ๆ (Kornvit Anoontakaroon

Lighting:

น้องไม้ผู้น่ารักมาก โฟโต้บอมบ์ทุกงาน (Thawatchai Janfai

Costume:

 แม่เราเอง (Raveerat Sungvornvetchapharn) 

และขอขอบคุณ เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ตลอดจนอาจารย์ท่านอื่นทั้งนอกและในรั้วสถาบันดนตรีฯ

เพื่อนที่เคยร่วมงาน ที่มารอชม ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก มีอิทธิพลหรือไม่มีต่อตัวเรา

bottom of page