top of page

1. Parting, fear of losing a loved one

15873.jpg

บทเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจากกวี 4 บท ของ Rabindranath Tagore (ต้นฉบับเป็นภาษาเบงกาลี)

ถูกนำมาร้อยเรียงกับดนตรีโดยนักประพันธ์ชาวรัสเซียในลักษณะของ art song cycle ในการแสดงครั้งนี้ เราได้หยิบมา 2 บทเพลงด้วยกัน สำหรับความเกี่ยวข้องกับทุกขสภาวะอาจจะไม่ได้ชัดเจนมากขนาดบทเพลงอื่น ๆ ในชุดการแสดง แต่ถ้าเราตีความจาก text ก็อาจจะรู้สึกถึงความหน่วงของอารมณ์ ชุดนี้จึงเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความกลัวการจากลา และการจากลาจากคนที่รัก

เสียงเปียโนเป็นพื้นหลังสร้างความรู้สึกเหมือนกับชีพจรที่เกิดจากความเป็นกังวล (เพลงแรก) ไม่มั่นใจ (และเพลงถัดมา) แม้ว่าจะขึ้นมาด้วยคอร์ดเมเจอร์ แต่ก็ไม่ได้ให้อารมณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นความสุขสมบูรณ์ กลับทำให้รู้สึกคิดถึง (nostalgic) และเป็นความคิดถึงที่ทำให้หนักใจ ในบทกวีได้พูดถึงใครบางคนในอดีต พาร์ทของไวโอลินเองก็สร้างความรู้สึกที่ทรมาน แต่เมื่อเทียบกับเพลงอื่น ๆ ในโปรแกรมก็ยังไม่ได้ถือว่าเป็นความทุกข์ที่ร้ายแรงอะไร

Не уходи, не простившись со мнои

Не уходи, не простившись со мнои,

мой милый! Мне не спалось, и теперь, дорогой мой, Сна превозмочь не имею я силы.

Если усну, я тебя потеряю!

Не уходи, не простившись со мной.

Вздрогнув, тебя я касаюсь в тревоге. Если б,

связав твои руки,

Я сердцем своим крепко держать у груди их могла бы!

Не уходи... Я шепчу, засыпая:

«Не уходи... не уходи... не уходи... не уходи!»

Ne ukhodi, ne prostivshis' so mnoi, moj milyj!

Mne ne spalos', i teper', dorogoj moj,

Sna prevozmoch' ne imeju ja sily.

Jesli usnu, ja tebja poterjaju!

Ne ukhodi, ne prostivshis' so mnoj.

Vzdrognuv, tebja ja kasajus' v trevoge.

Jesli b, svjazav tvoi ruki,

Ja serdcem svoim krepko derzhat' u grudi ikh mogla by!

Ne ukhodi... Ja shepchu, zasypaja:

«Ne ukhodi... ne ukhodi... ne ukhodi... ne ukhodi!»

ที่รัก อย่าจากฉันไปโดยไม่กล่าวลา

ฉันเฝ้าอยู่ทั้งคืน และตอนนี้ดวงตาของฉันหนักอึ้งจากความง่วง

ฉันกลัวว่าจะเสียคุณไปในตอนที่ฉันหลับ

ที่รัก อย่าจากฉันไปโดยไม่กล่าวลา

ฉันเอื้อมมือไปสัมผัสคุณ แล้วถามตัวเองว่า

“มันคือความฝันหรือเปล่า” ?

ถ้าฉันสามารถเชื่อมเท้าของคุณไว้กับใจของฉัน

และยึดเอาไว้แนบอก

ที่รัก อย่าจากฉันไปโดยไม่กล่าวลาเลย

О мой друг, вот цветок

О мой друг, вот цветок из прически моей.

Ты ему отнеси, как отсердца привет!

Но если спросит тебя, кто цветок этот дал,

Прошу тебя, друг мой, об этом молчи...

Мне так тяжко и больно смотреть на него...

Будто слов не найдёт рассказать о себе

И поведать о том, что он носит в душе,

Когда молча приходит и снова уйдёт!

O moj drug, vot cvetok iz pričeski moej.

Ty emu otnesi, kak otserdca privet!

No esli sprosit tebja, kto cvetok ėtot dal,

Prošu tebja, drug moj, ob ėtom molči...

Mne tak tjažko i bol'no smotret' na nego...

Budto slov ne najdët rasskazat' o sebe

I povedat' o tom, čto on nosit v duše,

Kogda molča prichodit i snova ujdët!

วันแล้ววันเล่า เขาเข้ามาและจากไป

เพื่อนเอย ฝากนำดอกไม้จากผมของฉันไปให้เขาที

ฉันขอร้องว่าอย่าไปบอกเขา

หากเขาถามว่าใครส่งมันมา

เขาที่เพียงแค่เข้ามาและจากไป

เขานั่งอยู่ใต้ร่มไม้

นั่งบนพื้นที่มีใบไม้และดอกไม้

ดวงตาของเขาดูเศร้า และนั่นก็ทำให้ใจของฉันเศร้า

เขาไม่พูดว่ารู้สึกอะไร

เขาเพียงแค่เข้ามาและจากไป

ความท้าทายของเพลงชุดนี้เป็นเรื่องของภาษา ด้วยตัวกวีเป็นภาษารัสเซียซึ่งไม่ใช่ภาษาที่คุ้นชิน การหา IPA นั้นก็สามารถทำได้ และเป็นสิ่งที่ควรทำ อีกทั้งยังมี transcription ตัว text ที่เป็นภาษาอังกฤษมาให้ อย่าวไรก็ตามสกอร์เพลงที่มีอยู่นั้น ไม่ใช่อักษรภาษาอังกฤษและคำร้องไม่ได้อิงตามบทกวีทั้งหมด ทำให้เราเรียนรู้ที่จะอ่านและเขียนตัวอักษรภาษารัสเซียด้วยตนเอง จนตอนนี้พอจะสามารถสะกดอ่านได้เบื้องต้น นอกจากภาษาก็ถือว่าเป็นช่วงเสียงร้องที่ไม่ใช่ช่วงเสียงที่สบายสำหรับเสียงของเรา โน้ตบริเวณ Middle C ไปจนถึง G5 เป็นจุดอ่อนของเราหากร้องคลาสสิค 

Ippolitov Ivanov

(Nov. 19, 1859 - Jan. 28, 1935)

 

 

คีตกวีชาวรัสเซียที่มีผลงานดนตรีออร์เคสตร้า และอุปรากร อีวานอฟเกิดที่เมืองกัตชินา ได้ศึกษาดนตรีกับ Nikolay Rimsky-Korsakov ที่สถาบันดนตรีในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่ออายุ 23 เขารับหน้าที่วาทยกรในวงซิมโฟนีออร์เคสตราและผู้กำกับดนตรีของโรงเรียนดนตรีในติฟลิส จอร์เจีย อีวานอฟสอนที่สถาบันดนตรีในมอสโกช่วงปี 1893-1906 และกำกับดนตรีช่วงปี 1906-1922 และเป็นวาทยกรของโรงอุปรากรมามอนโตวา 1899-1906 ต่อมาในปี 1924-1925 เขาได้จัดระบบสถาบันในรัฐจอร์เจียใหม่ (โรงเรียนทบิลีซีในปัจจุบัน) หลังจากนั้นเป็นวาทยกรที่โรงละครบอลชอย

ช่วงเวลากว่า 11 ปีที่อยู่ในคอเคซัสทำให้เขามีความสนใจดนตรีพื้นบ้านของแถบทวีปยุโรปและประเทศจอร์เจีย งานประพันธ์ของเขาหลายชิ้นจึงได้รับอิทธิพลจากดนตรีดังกล่าว เช่น งานประพันธ์สำหรับดนตรีออร์เคสตรา The suite Caucasian Sketches (1895), Armenian Rhapsody (1909), และโทนโพเอ็มจากบทกวี "Mtsyri" ของมิคาอิล เลอร์มอนทอฟ (1922; “The Novice”) หลังช่วงกลางศตวรรษที่ 20 นอกจาก Caucasian Sketches งานประพันธ์ของเขาก็มักไม่ค่อยถูกนำมาแสดง อีกทั้งอุปรากรเจ็ดเรื่องของเขาก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มงานที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

Rabindranath Tagore

( May 7, 1861 - August 7, 1941)

Rabindranath_Tagore.jpg

รพินทรนาถ ฐากูร เป็นนักกวี, นักเขียนชาวเบงกาลี เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

(ปี 1913 จากกวีนิพนธ์เรื่อง 'คีตาญชลี') และถูกยกย่องให้เป็นเหมือนเกอเธ่ และ เชคสเปียร์แห่งโลกตะวันออก เริ่มเขียนบทกวีเมื่ออายุ 8 ขวบ ใช้นามปากกาแรกว่า 'ภาณุสิงโห'  เมื่ออายุ 16 ปี รพินทรนาถมีผลงานการเขียนที่หลากหลาย ทั้งความเรียง บทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ บทเพลงชาติ 'ชนะ คณะ มน' ของอินเดีย และบทเพลงชาติ 'อามาร์ โชนาร์ บังกลา' ของบังกลาเทศก็เป็นผลงานการประพันธ์ของเขา อีกทั้งยังก่อตั้งสถาบันการศึกษา 'ศานตินิเกตัน'

(มหาวิทยาลัยวิศวภารตี) 

นอกจากการเป็นนักกวีที่ผู้คนยกย่อง เขายังเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหวต่อต้านการปกครองของอังกฤษ เพื่อประกาศเอกราชของอินเดียในช่วงปลายชีวิต

bottom of page